You are currently viewing ทำงานประจำและขายของออนไลน์ ยื่นภาษียังไง?

ทำงานประจำและขายของออนไลน์ ยื่นภาษียังไง?

  • Post author:

ในยุคนี้ลำพังแค่งานประจำอย่างเดียวอาจมีรายได้ไม่เพียงพอ หนุ่มสาวออฟฟิศหลายคนจึงตัดสินใจเลือกขายของออนไลน์เป็นอาชีพเสริมด้วย ซึ่งตามกฎหมายเมื่อมีรายได้ไม่ว่าช่องทางใดก็ตามต้องทำการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำถามคือแล้วเมื่อมีรายได้จาก 2 ช่องทางแบบนี้ต้องยื่นเสียภาษีอย่างไรบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลย

แยกประเภทเงินได้ของการทำงานประจำและขายของออนไลน์

สำหรับการแบ่งประเภทเงินได้เพื่อใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยจะแยกออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งคนที่ทำงานประจำ มีค่าจ้างรายเดือน โบนัส ค่าคอมมิชชั่นต่าง ๆ จะถูกกำหนดเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 

ส่วนรายรับที่ได้จากการขายของออนไลน์จะถูกระบุเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากการลงทุนทำธุรกิจซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเงินได้อื่น ๆ ตามระบุเอาไว้ใน 7 ประเภทก่อนหน้า ที่สำคัญคนมีเงินได้จากประเภทที่ 8 ต้องทำการยื่นภาษี 2 ครั้งต่อปีด้วย

การยื่นภาษีเงินได้ของคนทำงานประจำและขายของออนไลน์

1. การยื่นภาษีกลางปี (ภ.ง.ด.94) 

เป็นการยื่นภาษีให้กับกรมสรรพากรเพื่อสรุปรายได้ในช่วงครึ่งปีแรกว่าเป็นเท่าไหร่บ้าง จะใช้ค่าลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ได้ครึ่งหนึ่งหรือบางรายการอาจใช้ไม่ได้ เช่น กรณีค่าลดหย่อนส่วนตัวเมื่อยื่นภาษีครึ่งปีจะลดจาก 60,000 บาท เหลือ 30,000 บาท เป็นต้น ทำการยื่นช่วง ก.ค. – ก.ย.

2. การยื่นภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.90)

เป็นการยื่นภาษีสรุปรายได้ทั้งปีของปีก่อนหน้า ทำการยื่นช่วง ม.ค. – มี.ค. โดยสามารถนำภาษีกลางปี (ภ.ง.ด. 94) มาหักลบได้

หากไม่ยื่นตามกำหนดจะเสียค่าปรับ 2,000 บาท (ขอลดได้) และจ่ายเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนรวมค่าปรับ

วิธีคำนวณภาษีของคนทำงานประจำและขายของออนไลน์

เมื่อรู้แล้วว่าการมีรายได้ 2 ทางจากการทำงานประจำและขายของออนไลน์ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 ประเภท ลองมาศึกษาวิธีคำนวณภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์นี้ว่าทำอย่างไรได้บ้าง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่

1. การคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

แนวทาง: (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ

  • รายรับจากการทำงานประจำ (รายได้ประเภทที่ 1) หักค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 บาท 
  • รายรับจากการขายของออนไลน์ (รายได้ประเภทที่ 8) หักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ
    • หักแบบเหมา 60% ใช้ได้กับการซื้อมาขายไป
    • หักแบบตามจริง ใช้สำหรับการผลิตสินค้าขายเอง แต่ต้องมีรายรับรายจ่ายแสดงชัดเจน

2. การคำนวณภาษีแบบเหมา

แนวทาง: เงินได้ x 0.5%

วิธีนี้จะใช้เฉพาะรายได้จากการขายของออนไลน์ (ประเภทที่ 8) เกิน 1 ล้านบาท / ปี เท่านั้น 

อย่างไรก็ตามหากคุณขายของออนไลน์แล้วมีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาท ต้องคำนวณทั้ง 2 วิธี แล้วถ้าวิธีใดจ่ายภาษีมากกว่าทางกรมสรรพากรจะให้ใช้วิธีดังกล่าว 

ใส่ความเห็น